Design (Alone) Cannot Change (Everything)

1 - 7 December 2008

at Grand Hall, 1st Floor, Siam Discovery
Designers' Talk : 1 Dec 2008, 16.00 pm
Opening : 1 Dec 2008, 18.30 pm

Supported by

Supported by

11.29.2551

ตารางกิจกรรมวันที่ 1 ธ.ค. 2551

15.30 .  > ลงทะเบียนสื่อมวลชน


16.00 .  > การเสวนาภายใต้หัวข้อ "กราฟฟิกสีเขียว"

โดย  อนุทิน วงศ์สรรคกร (Behaviour Group) / สันติ ลอรัชวี (Practical Studio) /

 สยาม อัตตริยะ (Color Party) / พันทิพา ตันชูเกียรติ (Li-Kay)


17.15 .  > ร่วมรับฟังแนวคิดจากนักออกแบบที่ร่วมแสดงผลงาน

18.15
.  > Curator กล่าวถึงแนวความคิดของนิทรรศการ

18.30
.  > กล่าวเปิดงานโดย

คุณศิริเพ็ญ อินทุภุติ ผู้บริหารสยามดิสคัฟเวอรี่

คุณสมชาย รุ่งชวาลนนท์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอนทาลิส(ประเทศไทย) จำกัด

แจกใบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาที่ร่วมแสดงผลงาน

ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกและร่วมชมนิทรรศการ

Raw Mat Magazine

ขอเชิญร่วมกิจกรรมในวันเปิดนิทรรศการพร้อมรับวารสารกราฟิก Raw Mat
ที่รวบรวมผลงานโปสเตอร์ทุกชิ้นที่แสดงในนิทรรศการ










โปสเตอร์กับความเป็นศิลปะสาธารณะ


บทความโดย สันติ ลอรัชวี


“โปสเตอร์” สิ่งพิมพ์ที่อยู่เคียงข้างพื้นที่สาธารณะมาโดยตลอด ผมมีความสุขและคุ้นเคยกับการยืนมองและอ่านเนื้อหาที่จัดวางอยู่บนโปสเตอร์   โปสเตอร์บางใบดึงดูดให้ผมเดินเข้าไปหามันตั้งแต่ตอนเห็นในระยะไกล และบางใบก็สะกดให้ผมยืนมองเนิ่นนาน ที่ผ่านมาไม่ว่าจะรับใช้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับรัฐ องค์กร สินค้าหรือบริการใดๆ ก็ตาม โปสเตอร์ก็เป็นสื่อหลักสื่อหนึ่งที่นักออกแบบสื่อเลือกใช้เมื่อจะต้องนำเสนอเนื้อหาไปสู่สาธารณะ

ดังนั้นอาจเรียกได้ว่า “โปสเตอร์” ก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับนักออกแบบกราฟิกมาโดยตลอดเช่นกัน 


สำหรับผมจึงเป็นเรื่องแปลกถ้าพบนักออกแบบซักคนที่ไม่เคยออกแบบโปสเตอร์เลย (แม้กระทั่งตอนเรียน) 

ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 16 ปี จากโปสเตอร์ใบแรกที่ผมออกแบบเพื่อส่งงานในชั้นเรียน จนถึงโปสเตอร์ใบล่าสุดที่ผมออกแบบสำหรับนิทรรศการโปสเตอร์นี้ ทำให้ชวนคิดว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้างกับการออกแบบโปสเตอร์ในบ้านเรา ในขณะที่รูปแบบโปสเตอร์ก็มีความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย สังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ  เทคโนโลยี มาตามลำดับ ตั้งแต่ยังไม่มีอาชีพนักออกแบบกราฟิก จนกระทั่งปัจจุบันที่มีนักออกแบบหน้าใหม่จบออกมาเป็นพันคนต่อปี


เรื่องหนึ่งที่ผมนึกถึงก็คือ “พื้นที่ติดโปสเตอร์ ” ที่นับวันจะลดลงจนบางครั้งนึกไม่ออกว่าจะเอาโปสเตอร์ที่ได้มาไปติดให้ที่ไหน ในยุคสิบกว่าปีก่อน เสากลมบริเวณริมถนนบางสายเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีคนมาติดโปสเตอร์กันมาก มีคนนำโปสเตอร์ไปติดเพิ่มตลอดทั้งวัน ติดตอนเช้ามืด บ่ายก็โดนติดทับแล้ว แต่ก็จะโดนติดทับตอนหัวค่ำอีกที ส่วนถ้าติดที่กำแพงแถวสยามฯ โดยมากมักจะคิดซ้ำจนเต็มกำแพงเพื่อความชัดเจน แต่เวลาโดนทับก็มักจะโดนทั้งกำแพงเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ก็สะท้อนให้เห็นความไร้ระเบียบในการใช้พื้นที่สาธารณะ


แต่ถึงอย่างไรเสากลมก็ไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ในขณะที่ผนังบริเวณสยามแสควร์ก็เหลือน้อยมากแล้ว


พื้นที่สื่อสารสาธารณะที่เคยมีกำลังจะหมดไป ในขณะพื้นที่สื่อสารสาธารณะใหม่ก็เกิดขึ้นทดแทน แต่ก็มีคนตั้งคำถามไว้มากเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะใหม่นั้นๆ ว่าเข้าถึงได้ยากหรือต้องเข้าไปภายใต้การกำกับอย่างเข้มงวด จนทำให้พื้นที่นั้นไม่เป็น “สาธารณะ” จริง หรือไม่ก็มีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องจนกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อน จนต้องรับอิทธิพลของทุนหรือกลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ไปโดยปริยาย

แรกเริ่มพื้นที่สาธารณะเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นของฮาเบอร์มาส นักวิชาการเยอรมัน มองเห็นความสำคัญของโลกการสื่อสารและบทบาททางการเมืองของกลุ่มชนชั้นใหม่ในสังคมยุโรปช่วงรอยต่อระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบบการเมืองรูปแบบประชาธิปไตยในคริสต์วรรษที่ 18 การสื่อสารตามร้านกาแฟ ร้านตัดผมหรือร้านค้าในชุมชน เป็นศูนย์รวมของการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าและนายทุน มีโอกาสนำเรื่องการเมืองมาตรวจสอบและกดดันให้เกิดความโปร่งใส พื้นที่สาธารณะมีความหมายตรงกันข้ามกับพื้นที่ในราชสำนัก ซึ่งอำนาจทางการเมืองมีการรวมศูนย์ และการตัดสินใจทางการเมืองดำเนินภายในปริมณฑลที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและจำกัดในวงแคบ พื้นที่สาธารณะยังประกอบไปด้วยสื่อหนังสือพิมพ์ ใบปิด ใบปลิว และสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่เป็นเวทีกลางในการเชื่อมต่อพื้นที่สาธารณะในทางกายภาพจากกลุ่มคนในร้านกาแฟและย่านต่างๆ ให้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ผ่านพื้นที่สาธารณะในทางสัญลักษณ์ 



แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าพื้นที่ที่เหลือน้อยสำหรับโปสเตอร์จะสวนทางกับปริมาณการใช้สิ่งพิมพ์ในระดับย่อย ซึ่งขอบเขตการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆขยายวงกว้างออกไปอย่างมาก ตั้งแต่ระดับปัจเจกชนไปจนถึงองค์กรต่างๆในชุมชนไม่ว่าจะเป็น สหภาพแรงงาน องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายทางด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสอนพิเศษ โบสถ์หรือวัด  และมีประเด็นต่างๆที่กล่าวถึงอาณาเขต หรือปริมณฑลแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะเจาะจงมากขึ้น  เช่น กลุ่มผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี /ลูกหนี้บัตรเครดิต / ผู้ติดบุหรี่หรือสุรา  เป็นต้น ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้จากหน่วยงานเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนั้นๆ เราจะสามารถเห็นโปสเตอร์ในสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ อยู่เสมอ แต่ขอบเขตในการเผยแพร่ก็จะจำกัด ทั้งๆ ที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมในวงกว้าง เกินกว่าจะติดอยู่แค่ในหน่วยงานเท่านั้น


ในเมื่อพื้นที่สาธารณะสำหรับโปสเตอร์ลดน้อยลงจนไม่มีความจำเป็นต่อการใช้โปสเตอร์  ไม่ว่าโปสเตอร์ใบนั้นจะถูกออกแบบและสื่อสารได้ดีเพียงใด  มันก็ไม่สามารถแสดงศักยภาพออกไปได้ถ้าโปสเตอร์เหล่านั้นไม่มีพื้นที่แสดงตัวออกไป บางทีทำให้คิดไปว่านี่อาจเป็นวาระสุดท้ายของศิลปะการออกแบบโปสเตอร์หรือไม่... 


คุณประชา สุวีรานนท์ เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทความรายสัปดาห์ว่า “หัวใจของงานออกแบบต้องมีพันธสัญญาระหว่างไตรภาคี อันได้แก่ ลูกค้าหรือสถาบันที่มอบหมายหรือว่าจ้างและสาธารณชน ซึ่งหมายถึงกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดู” อีกทั้งยังกล่าวถึงคุณค่าของโปสเตอร์ไว้ด้วยว่า “ความเป็นศิลปะสาธารณะของโปสเตอร์กำลังเสื่อมลงพร้อมกับความหมายของคำว่า “พื้นที่สาธารณะ” นั่นอาจหมายถึงคุณค่าหรือความเป็นศิลปะของโปสเตอร์อาจจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากการแสดงตัวตนหรือเนื้อหาของมันออกไปสู่สาธารณะ นั่นจึงจะทำให้โปสเตอร์ใบนั้นมีตัวตนครบถ้วนเพราะได้ทำหน้าที่ของมันออกไปอย่างสมบูณ์แล้ว


ปลายปี พ.ศ. 2550 นิทรรศการ “ศิลปะแห่งการคอร์รัปชั่น” ซึ่งจัดแสดงที่หอศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้เชิญนักออกแบบกราฟิก 8 คน ให้ร่วมสร้างสรรค์และแสดงผลงานโปสเตอร์ในพื้นที่แสดงนิทรรศการศิลปะร่วมกับศิลปินทางด้านทัศนศิลป์คนอื่นๆ ซึ่งถือเป็นอีกปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการจัดสรรพื้นที่ให้กับโปสเตอร์แสดงตัวในอีกบริบทหนึ่งที่ไม่ใช่นิทรรศการจัดแสดงผลงานโปสเตอร์ที่เคยออกแบบมารวบรวมให้ชม แต่เป็นการออกแบบโปสเตอร์เพื่อเหตุผลในการจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการโดยเฉพาะ จึงมีคำถามที่น่าสนใจว่า นิยามร่วมสมัยของโปสเตอร์คืออะไร / ระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการกับการพิมพ์โปสเตอร์เพื่อแจกจ่ายไปติดตามสถานที่ต่างๆ รูปแบบไหนจะมีคนพบเห็นและรับรู้เนื้อหามากกว่ากัน / โปสเตอร์ที่พิมพ์เพียงเพื่อจัดแสดงนั้น ความเป็นศิลปะสาธารณะจะยังคงอยู่หรือไม่  ฯลฯ


เราทุกคนแม้จะมีความเป็นส่วนตัว แต่ทุกคนก็ต้องมีวาระที่เป็นชีวิตสาธารณะด้วย แม้การแต่งตัวของเราก็สามารถสื่อสารอะไรบางอย่างออกไปแก่ผู้พบเห็น ดังนั้นการที่โปสเตอร์แต่ละใบมีสถานภาพแตกต่างกัน อาจไม่ได้ทำให้คุณค่าหรือความเป็นสื่อสาธารณะหมดไป หากเพียงสาระที่บรรจุอยู่นั้นยังมีประโยชน์เพียงพอต่อผู้พบเห็น 


สำหรับคนทำงานออกแบบโปสเตอร์คนหนึ่ง ในการพบเห็นโปสเตอร์แต่ละใบมีความรู้สึกยินดีมากกว่าความรู้สึกอื่นที่คละอยู่ เพราะไม่ว่าโปสเตอร์ที่เราออกแบบจะติดอยู่ที่ไหนก็ตาม การมีอยู่ของโปสเตอร์แต่ละใบ ต่างพื้นที่ ต่างวาระนั้น นั่นก็สะท้อนให้เห็นถึงการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะ การมีอยู่ของศิลปะการออกแบบโปสเตอร์ ที่นักออกแบบกราฟิกและพลเมืองของสังคมคนหนึ่งอาจใช้ปกป้องวิชาชีพและพื้นที่สาธารณะเอาไว้ ด้วยการผลิตแผ่นกระดาษที่จะเข้าไปแบ่งปันพื้นที่ที่นับวันจะมีเจ้าของกันหมดแล้ว...

 


11.23.2551

Curator : สันติ ลอรัชวี










นอกเหนือจากบทบาทอาจารย์ทางด้านการออกแบบสื่อสารให้กับหลายสถาบันแล้ว
สันติยังเป็นที่รู้จักในฐานะนักออกแบบสื่อสารและผู้ก่อตั้ง Practical Studio สำนักงานออกแบบสื่อสาร
ที่หันมาดำเนินการกิจกรรมทางศิลปะและการออกแบบควบคู่ไปกับการทำงานด้านการออกแบบ 
โครงการสำคัญที่สันติได้เคยออกแบบไว้ ได้แก่ การกำกับงานออกแบบสื่อสารให้กับนิทรรศการศิลปะ
หลายนิทรรศการ ได้แก่ นิทรรศการ Show Me Thai ที่จัดแสดงที่ Museum of Contemporary Art โตเกียว ประเทศญี่ปุ่น / 
นิทรรศการ Talk About Love ของ เพชร โอสถานุเคราะห์ ที่หอศิลปมหาวิทยาลัยกรุงเทพ
รวมถึงการพัฒนาอัตลักษณ์ให้แก่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขายังเป็นนักออกแบบที่มีผลงานในรูปแบบการจัดแสดง
นิทรรศการอย่างสม่ำเสมอไม่ว่าจะเป็นนิทรรศการกลุ่มและนิทรรศการเดี่ยว (Yes, I am Not, Bangkok University Gallery, 2008 /
Yes, We are Not, Siam Discovery, 2008) 

อีกทั้งยังมีผลงานคู่ขนานอื่นๆ อีกหลายบทบาท ได้แก่ เป็นนักเขียนรับเชิญให้กับนิตยสารหลายฉบับ, 
เป็นบรรณาธิการให้กับวารสารทางด้านกราฟิกดีไซน์ Conqueror - Raw Mat, 
เป็นผู้จัดกิจกรรมทางการออกแบบหลายกิจกรรม (The Cultural Template for Design Forum, 2003 / 
What Best How Best, 2006 / โครงการอักขรศิลป์ ทรงพระเจริญ, 2007) 
และการเป็นคิวเรเตอร์นิทรรศการงานออกแบบ (662 - 6 Young Designers, 2005 / 
Colaboration - Communication Design Exhibition, 2007) 
รวมถึงนิทรรศการออกแบบโปสเตอร์ Design (alone) Cannot Change (everything)  

11.11.2551

10 นักออกแบบที่ร่วมแสดงผลงาน










ดาเรศ น้ำค้าง (Darate Namkang)

Design Director / dot dot dot limited partnership

อาจารย์พิเศษภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ











ทรงศีล ทิวสมบูรณ์ 

นักออกแบบเจ้าของผลงานหนังสือแนวกราฟิก ฟิกชั่น "ถั่วงอกกับหัวไฟ" และ "Nine Lives"











รักกิจ ควรหาเวช (Rukkit Kuanhawate)

กราฟิก ดีไซน์เนอร์ สมาชิกกลุ่ม B.O.R.E.D










วีรยุทธิ์ คุณวิทยไพศาล
อาร์ตไดเรคเตอร์  / บริษัท แมทช์บ็อกซ์ จำกัด

อาจารย์พิเศษภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ










วีร์ วีรพร (Wee Viraporn)

Founder & Design Director / designconscious 

อาจารย์พิเศษภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ










ภูมิ รัตตวิศิษฐ์ (Poom Rattavisit)

นักออกแบบ / บริษัท คัดสรรดีมาก จำกัด










ภาคภูมิ ลมูลพันธ์ (Pakpoom Lamoonpan)
Good Citizen









ไพลิน ถาวรวิจิตร (Pailin Thawornwijit) 

นักวาดภาพประกอบเจ้าของผลงานหนังสือ "55 reasons to hug before it's too late" 










ณัฐิกา เลิศวิมลนันท์ (Nuttika Lertwimonnunt)

Graphic Designer / Practical Studio

 









ณัฐวุฒิ เลื่อนไธสง (Nattavut Luenthaisong)
be>our>friend studio
อาจารย์พิเศษภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

11.10.2551

กิจกรรมพบปะของนักออกแบบในโครงการ
















เป็นครั้งแรกที่ทุกคนที่เข้าร่วมโครงการนิทรรศการฯ ได้มีโอกาสพบปะกันอย่างเป็นทางการ
ทั้งคิวเรเตอร์ นักออกแบบ นักศึกษา และ บริษัทแอนทาลิส (ประเทศไทย) จำกัด
และถือโอกาสให้ทางนักศึกษาที่ร่วมโครงการได้นำเอาแบบร่างมาปรึกษานักออกแบบรุ่นพี่ๆ
เพื่อนำไปพัฒนาผลงานต่อไป ต้องขอขอบคุณทุกท่านที่มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้

11.09.2551

10 นักศึกษาที่ร่วมแสดงผลงาน











ณัฐชา นิลวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต










ธนรัตน์ โสภา สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา .เชียงใหม่











ธัญญาทิพย์ ศิริรัตนประพันธ์ ภาควิชานฤมติศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย










วราห์ ภู่เงิน ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ









สุวโรจน์ ภู่ศรีวงส์วณิช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง









นพรัตน์ เอกสุวรรณเจริญ ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร









จิตรกร เพื่อประดิษฐ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฐสวนสุนันทา









จิรโรจน์ แสงสุวรรณวาว Visual Communication Arts, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ









จารุอร ทองไทย Visual Communication, Raffles Design Institute, Bangkok









วรินทร์รัตน์ ก๋งเกิด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

ผู้ติดตาม