Design (Alone) Cannot Change (Everything)
1 - 7 December 2008
Menu
- เกี่ยวกับนิทรรศการ (1)
- ข่าว (2)
- คิวเรเตอร์ (1)
- ตารางกิจกรรม (1)
- นักศึกษาที่ร่วมโครงการ (1)
- นักออกแบบ (1)
- บทความประกอบนิทรรศการ (1)
- ประชาสัมพันธ์ (1)
Supported by
12.21.2551
11.29.2551
ตารางกิจกรรมวันที่ 1 ธ.ค. 2551
15.30 น. > ลงทะเบียนสื่อมวลชน
16.00 น. > การเสวนาภายใต้หัวข้อ "กราฟฟิกสีเขียว"
โดย อนุทิน วงศ์สรรคกร (Behaviour Group) / สันติ ลอรัชวี (Practical Studio) /
สยาม อัตตริยะ (Color Party) / พันทิพา ตันชูเกียรติ (Li-Kay)
17.15 น. > ร่วมรับฟังแนวคิดจากนักออกแบบที่ร่วมแสดงผลงาน
18.15 น. > Curator กล่าวถึงแนวความคิดของนิทรรศการ
18.30 น. > กล่าวเปิดงานโดย
คุณศิริเพ็ญ อินทุภุติ ผู้บริหารสยามดิสคัฟเวอรี่
คุณสมชาย รุ่งชวาลนนท์ ผู้จัดการทั่วไป บริษัท แอนทาลิส(ประเทศไทย) จำกัด
แจกใบประกาศนียบัตรแก่นักศึกษาที่ร่วมแสดงผลงาน
ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกและร่วมชมนิทรรศการ
Raw Mat Magazine
โปสเตอร์กับความเป็นศิลปะสาธารณะ
บทความโดย สันติ ลอรัชวี
“โปสเตอร์” สิ่งพิมพ์ที่อยู่เคียงข้างพื้นที่สาธารณะมาโดยตลอด ผมมีความสุขและคุ้นเคยกับการยืนมองและอ่านเนื้อหาที่จัดวางอยู่บนโปสเตอร์ โปสเตอร์บางใบดึงดูดให้ผมเดินเข้าไปหามันตั้งแต่ตอนเห็นในระยะไกล และบางใบก็สะกดให้ผมยืนมองเนิ่นนาน ที่ผ่านมาไม่ว่าจะรับใช้เนื้อหาที่สัมพันธ์กับรัฐ องค์กร สินค้าหรือบริการใดๆ ก็ตาม โปสเตอร์ก็เป็นสื่อหลักสื่อหนึ่งที่นักออกแบบสื่อเลือกใช้เมื่อจะต้องนำเสนอเนื้อหาไปสู่สาธารณะ
ดังนั้นอาจเรียกได้ว่า “โปสเตอร์” ก็เป็นสิ่งที่อยู่คู่กับนักออกแบบกราฟิกมาโดยตลอดเช่นกัน
สำหรับผมจึงเป็นเรื่องแปลกถ้าพบนักออกแบบซักคนที่ไม่เคยออกแบบโปสเตอร์เลย (แม้กระทั่งตอนเรียน)
ซึ่งนับเป็นเวลากว่า 16 ปี จากโปสเตอร์ใบแรกที่ผมออกแบบเพื่อส่งงานในชั้นเรียน จนถึงโปสเตอร์ใบล่าสุดที่ผมออกแบบสำหรับนิทรรศการโปสเตอร์นี้ ทำให้ชวนคิดว่าในระยะเวลาที่ผ่านมาเกิดอะไรขึ้นบ้างกับการออกแบบโปสเตอร์ในบ้านเรา ในขณะที่รูปแบบโปสเตอร์ก็มีความเปลี่ยนแปลงตามยุคสมัย สังคม การเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ เทคโนโลยี มาตามลำดับ ตั้งแต่ยังไม่มีอาชีพนักออกแบบกราฟิก จนกระทั่งปัจจุบันที่มีนักออกแบบหน้าใหม่จบออกมาเป็นพันคนต่อปี
เรื่องหนึ่งที่ผมนึกถึงก็คือ “พื้นที่ติดโปสเตอร์ ” ที่นับวันจะลดลงจนบางครั้งนึกไม่ออกว่าจะเอาโปสเตอร์ที่ได้มาไปติดให้ที่ไหน ในยุคสิบกว่าปีก่อน เสากลมบริเวณริมถนนบางสายเป็นพื้นที่หนึ่งที่มีคนมาติดโปสเตอร์กันมาก มีคนนำโปสเตอร์ไปติดเพิ่มตลอดทั้งวัน ติดตอนเช้ามืด บ่ายก็โดนติดทับแล้ว แต่ก็จะโดนติดทับตอนหัวค่ำอีกที ส่วนถ้าติดที่กำแพงแถวสยามฯ โดยมากมักจะคิดซ้ำจนเต็มกำแพงเพื่อความชัดเจน แต่เวลาโดนทับก็มักจะโดนทั้งกำแพงเช่นเดียวกัน เรื่องนี้ก็สะท้อนให้เห็นความไร้ระเบียบในการใช้พื้นที่สาธารณะ
แต่ถึงอย่างไรเสากลมก็ไม่มีอยู่แล้วในปัจจุบัน ในขณะที่ผนังบริเวณสยามแสควร์ก็เหลือน้อยมากแล้ว
พื้นที่สื่อสารสาธารณะที่เคยมีกำลังจะหมดไป ในขณะพื้นที่สื่อสารสาธารณะใหม่ก็เกิดขึ้นทดแทน แต่ก็มีคนตั้งคำถามไว้มากเกี่ยวกับความสามารถในการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะใหม่นั้นๆ ว่าเข้าถึงได้ยากหรือต้องเข้าไปภายใต้การกำกับอย่างเข้มงวด จนทำให้พื้นที่นั้นไม่เป็น “สาธารณะ” จริง หรือไม่ก็มีเรื่องธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องจนกลายเป็นพื้นที่ทับซ้อน จนต้องรับอิทธิพลของทุนหรือกลายเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ไปโดยปริยาย
แรกเริ่มพื้นที่สาธารณะเป็นแนวความคิดที่เกิดขึ้นของฮาเบอร์มาส นักวิชาการเยอรมัน มองเห็นความสำคัญของโลกการสื่อสารและบทบาททางการเมืองของกลุ่มชนชั้นใหม่ในสังคมยุโรปช่วงรอยต่อระหว่างการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาสู่ระบบการเมืองรูปแบบประชาธิปไตยในคริสต์วรรษที่ 18 การสื่อสารตามร้านกาแฟ ร้านตัดผมหรือร้านค้าในชุมชน เป็นศูนย์รวมของการวิพากษ์วิจารณ์อำนาจรัฐ และแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารประชาชนซึ่งเป็นกลุ่มพ่อค้าและนายทุน มีโอกาสนำเรื่องการเมืองมาตรวจสอบและกดดันให้เกิดความโปร่งใส พื้นที่สาธารณะมีความหมายตรงกันข้ามกับพื้นที่ในราชสำนัก ซึ่งอำนาจทางการเมืองมีการรวมศูนย์ และการตัดสินใจทางการเมืองดำเนินภายในปริมณฑลที่ไม่เปิดเผยต่อสาธารณะและจำกัดในวงแคบ พื้นที่สาธารณะยังประกอบไปด้วยสื่อหนังสือพิมพ์ ใบปิด ใบปลิว และสิ่งพิมพ์ขนาดเล็กที่เป็นเวทีกลางในการเชื่อมต่อพื้นที่สาธารณะในทางกายภาพจากกลุ่มคนในร้านกาแฟและย่านต่างๆ ให้มีโอกาสพบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้น ผ่านพื้นที่สาธารณะในทางสัญลักษณ์
แต่ปัจจุบันดูเหมือนว่าพื้นที่ที่เหลือน้อยสำหรับโปสเตอร์จะสวนทางกับปริมาณการใช้สิ่งพิมพ์ในระดับย่อย ซึ่งขอบเขตการนำเสนอเนื้อหาผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆขยายวงกว้างออกไปอย่างมาก ตั้งแต่ระดับปัจเจกชนไปจนถึงองค์กรต่างๆในชุมชนไม่ว่าจะเป็น สหภาพแรงงาน องค์กรนักศึกษามหาวิทยาลัย ผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายทางด้านสิ่งแวดล้อม โรงเรียนสอนพิเศษ โบสถ์หรือวัด และมีประเด็นต่างๆที่กล่าวถึงอาณาเขต หรือปริมณฑลแห่งหนึ่งแห่งใดโดยเฉพาะเจาะจงมากขึ้น เช่น กลุ่มผู้ติดเชื้อเอช ไอ วี /ลูกหนี้บัตรเครดิต / ผู้ติดบุหรี่หรือสุรา เป็นต้น ซึ่งเราจะสังเกตเห็นได้จากหน่วยงานเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มนั้นๆ เราจะสามารถเห็นโปสเตอร์ในสถานที่ของหน่วยงานต่างๆ อยู่เสมอ แต่ขอบเขตในการเผยแพร่ก็จะจำกัด ทั้งๆ ที่บางเรื่องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสังคมในวงกว้าง เกินกว่าจะติดอยู่แค่ในหน่วยงานเท่านั้น
ในเมื่อพื้นที่สาธารณะสำหรับโปสเตอร์ลดน้อยลงจนไม่มีความจำเป็นต่อการใช้โปสเตอร์ ไม่ว่าโปสเตอร์ใบนั้นจะถูกออกแบบและสื่อสารได้ดีเพียงใด มันก็ไม่สามารถแสดงศักยภาพออกไปได้ถ้าโปสเตอร์เหล่านั้นไม่มีพื้นที่แสดงตัวออกไป บางทีทำให้คิดไปว่านี่อาจเป็นวาระสุดท้ายของศิลปะการออกแบบโปสเตอร์หรือไม่...
คุณประชา สุวีรานนท์ เคยเขียนเกี่ยวกับเรื่องนี้ในบทความรายสัปดาห์ว่า “หัวใจของงานออกแบบต้องมีพันธสัญญาระหว่างไตรภาคี อันได้แก่ ลูกค้าหรือสถาบันที่มอบหมายหรือว่าจ้างและสาธารณชน ซึ่งหมายถึงกลุ่มเป้าหมายหรือผู้ดู” อีกทั้งยังกล่าวถึงคุณค่าของโปสเตอร์ไว้ด้วยว่า “ความเป็นศิลปะสาธารณะของโปสเตอร์กำลังเสื่อมลงพร้อมกับความหมายของคำว่า “พื้นที่สาธารณะ” นั่นอาจหมายถึงคุณค่าหรือความเป็นศิลปะของโปสเตอร์อาจจะเป็นผลต่อเนื่องมาจากการแสดงตัวตนหรือเนื้อหาของมันออกไปสู่สาธารณะ นั่นจึงจะทำให้โปสเตอร์ใบนั้นมีตัวตนครบถ้วนเพราะได้ทำหน้าที่ของมันออกไปอย่างสมบูณ์แล้ว
ปลายปี พ.ศ. 2550 นิทรรศการ “ศิลปะแห่งการคอร์รัปชั่น” ซึ่งจัดแสดงที่หอศิลป์ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย ได้เชิญนักออกแบบกราฟิก 8 คน ให้ร่วมสร้างสรรค์และแสดงผลงานโปสเตอร์ในพื้นที่แสดงนิทรรศการศิลปะร่วมกับศิลปินทางด้านทัศนศิลป์คนอื่นๆ ซึ่งถือเป็นอีกปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นถึงการจัดสรรพื้นที่ให้กับโปสเตอร์แสดงตัวในอีกบริบทหนึ่งที่ไม่ใช่นิทรรศการจัดแสดงผลงานโปสเตอร์ที่เคยออกแบบมารวบรวมให้ชม แต่เป็นการออกแบบโปสเตอร์เพื่อเหตุผลในการจัดแสดงในรูปแบบนิทรรศการโดยเฉพาะ จึงมีคำถามที่น่าสนใจว่า นิยามร่วมสมัยของโปสเตอร์คืออะไร / ระหว่างการจัดแสดงนิทรรศการกับการพิมพ์โปสเตอร์เพื่อแจกจ่ายไปติดตามสถานที่ต่างๆ รูปแบบไหนจะมีคนพบเห็นและรับรู้เนื้อหามากกว่ากัน / โปสเตอร์ที่พิมพ์เพียงเพื่อจัดแสดงนั้น ความเป็นศิลปะสาธารณะจะยังคงอยู่หรือไม่ ฯลฯ
เราทุกคนแม้จะมีความเป็นส่วนตัว แต่ทุกคนก็ต้องมีวาระที่เป็นชีวิตสาธารณะด้วย แม้การแต่งตัวของเราก็สามารถสื่อสารอะไรบางอย่างออกไปแก่ผู้พบเห็น ดังนั้นการที่โปสเตอร์แต่ละใบมีสถานภาพแตกต่างกัน อาจไม่ได้ทำให้คุณค่าหรือความเป็นสื่อสาธารณะหมดไป หากเพียงสาระที่บรรจุอยู่นั้นยังมีประโยชน์เพียงพอต่อผู้พบเห็น
สำหรับคนทำงานออกแบบโปสเตอร์คนหนึ่ง ในการพบเห็นโปสเตอร์แต่ละใบมีความรู้สึกยินดีมากกว่าความรู้สึกอื่นที่คละอยู่ เพราะไม่ว่าโปสเตอร์ที่เราออกแบบจะติดอยู่ที่ไหนก็ตาม การมีอยู่ของโปสเตอร์แต่ละใบ ต่างพื้นที่ ต่างวาระนั้น นั่นก็สะท้อนให้เห็นถึงการมีอยู่ของพื้นที่สาธารณะ การมีอยู่ของศิลปะการออกแบบโปสเตอร์ ที่นักออกแบบกราฟิกและพลเมืองของสังคมคนหนึ่งอาจใช้ปกป้องวิชาชีพและพื้นที่สาธารณะเอาไว้ ด้วยการผลิตแผ่นกระดาษที่จะเข้าไปแบ่งปันพื้นที่ที่นับวันจะมีเจ้าของกันหมดแล้ว...
11.23.2551
Curator : สันติ ลอรัชวี
11.11.2551
10 นักออกแบบที่ร่วมแสดงผลงาน
อาจารย์พิเศษภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
วีร์ วีรพร (Wee Viraporn)
Founder & Design Director / designconscious
อาจารย์พิเศษภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
นักออกแบบ / บริษัท คัดสรรดีมาก จำกัด
ไพลิน ถาวรวิจิตร (Pailin Thawornwijit)
นักวาดภาพประกอบเจ้าของผลงานหนังสือ "55 reasons to hug before it's too late"
11.10.2551
กิจกรรมพบปะของนักออกแบบในโครงการ
11.09.2551
10 นักศึกษาที่ร่วมแสดงผลงาน
ณัฐชา นิลวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
ธัญญาทิพย์ ศิริรัตนประพันธ์ ภาควิชานฤมติศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย