Design (Alone) Cannot Change (Everything)

1 - 7 December 2008

at Grand Hall, 1st Floor, Siam Discovery
Designers' Talk : 1 Dec 2008, 16.00 pm
Opening : 1 Dec 2008, 18.30 pm

Supported by

Supported by

10.28.2551

นิทรรศการโปสเตอร์ดีไซน์

 A Poster Design Exhibition

“Design (Alone) Cannot Change (Everything)”


โดย 10 นักออกแบบกราฟิกไทย

นักออกแบบที่ร่วมแสดงผลงาน 

ดาเรศ น้ำค้าง / ภูมิ รัตตวิศิษฐ์ / ณัฐิกา เลิศวิมลนันท์ / ทรงศีล ทิวสมบุญ / ไพลิน ถาวรวิจิตร

รักกิจ ควรหาเวช / ณัฐวุฒิ เลื่อนไธสง / วีร์ วีรพร / วีรยุทธ คุณวิทยไพศาล / ภาคภูมิ ลมูลพันธ์


และตัวแทนนักศึกษาออกแบบต่าง 10 สถาบัน

1. ธัญญาทิพย์ ศิริรัตนประพันธ์ ภาควิชานฤมติศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2. วราห์ ภู่เงิน ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

3. นพรัตน์ เอกสุวรรณเจริญ ภาควิชาการออกแบบนิเทศศิลป์ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

4. ณัฐชา นิลวรรณ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต

5. วรินทร์รัตน์ ก๋งเกิด คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

6. จารุอร ทองไทย Visual Communication, Raffles Design Institute, Bangkok

7. จิรโรจน์ แสงสุวรรณวาว Visual Communication Arts, มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ

8. จิตรกร เพื่อประดิษฐ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฐสวนสุนันทา

9. สุวโรจน์ ภู่ศรีวงส์วณิช คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

10. ธนรัตน์ โสภา สาขาวิชาออกแบบสื่อสาร คณะศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลลานนา .เชียงใหม่


ประเด็นเรื่องความห่วงใยสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ของสังคม และถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงกันในวงกว้าง ไม่เว้นแม้แต่ในวงการออกแบบ

ทุกแขนง แต่ก็ดูเหมือนว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆ กลับทวีความรุนแรงพอๆ กับอัตราการเพิ่มของกิจกรรมรณรงค์ต่างๆ ในทุกมุมโลก 

ปัจจุบันกระแสโลกร้อนก็ขยายวงกว้างขึ้นไม่แพ้อุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นของโลกใบนี้ ซึ่งไม่ต่างจากกระแสอื่นๆ ที่สามารถนำไปทำมาค้าขายได้ 

จนเกิดกระแส “Global Warming Marketing” ที่เป็นศัพท์ใหม่ในหมู่นักการตลาด 


นักออกแบบกราฟิกเอง ก็เป็นอีกวิชาชีพหนึ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในการมีส่วนร่วมกับปัญหาสิ่งแวดล้อมทั้งทางตรงและทางอ้อมการที่นักออกแบบ

มีอิทธิพลในการกำหนดรูปแบบของงาน ไม่ว่าจะเป็นวัสดุรวมไปถึงเทคนิคการผลิต ล้วนแล้วแต่มีผลต่อปัจจัยการใช้ทรัพยากรและการย่อยสลาย

ทั้งสิ้น หันมามองนักออกแบบสายสื่อสารกันบ้างก็มีส่วนไม่น้อยในการสร้างผลงานของตนเพื่อการกระตุ้นให้เกิดการบริโภคจนเกินจำเป็น 

สามารถสร้างเหตุผลสีเขียวในการบริโภคให้กับผู้คนในสังคมได้อย่างแนบเนียน ยอดขายในอีเบย์ของกระเป๋า ‘I’m not a plastic bag’ 

ที่ออกแบบโดยนักออกแบบชาวอังกฤษ Anya Hindmarch เป็นตัวอย่างที่เห็นได้ชัดว่ากระแสโลกร้อนได้ผสานเข้ากับวัฒนธรรมการบริโภค

อย่างแนบแน่น โดยมีนักออกแบบเป็นผู้เชื่อมความสัมพันธ์ ทำให้เกิดสภาพการณ์ที่ขัดแย้งกันระหว่างเป้าหมายของพฤติกรรมกับ

รูปแบบของพฤติกรรม ยังรวมถึงผลกระทบของพฤติกรรมนั้นด้วย


จากข้อสังเกตดังกล่าว นำมาสู่การนำเสนอประเด็นของนิทรรศการโปสเตอร์ “Design (alone) Cannot Change (everything)” 

ที่ตั้งคำถามไปยังที่งานออกแบบ นักออกแบบ รวมไปถึงประชาชนทั่วไปที่บริโภคหรือเสพงานออกแบบ ว่าคนส่วนใหญ่

ในปัจจุบันใช้งานออกแบบเชิงอนุรักษ์เป็นเครื่องอำพรางพฤติกรรมส่วนตัวที่สวนทางกับแนวทางรณรงค์หรือไม่ หรืองานออกแบบสื่อสาร

ได้แสดงอำนาจของมันให้ผู้คนหลงเชื่อว่าการได้ครอบครองงานออกแบบเชิงอนุรักษ์ นั้นเสมือนราวกับการได้มีจิตสำนึกและพฤติกรรม

เชิงอนุรักษ์อย่างเบ็ดเสร็จแล้วเช่นกัน ขณะที่นักออกแบบสื่อสารจำนวนหนึ่งพยายามสร้างเครื่องมือสื่อสารเชิงสัญลักษณ์ 

(จะด้วยเหตุผลใดก็ตามดูเหมือนจะได้การตอบรับอย่างดีจากผู้คนที่กำลังแสวงหาช่องทางลัดเชิงพฤติกรรมหรือการแสดงตัวตน

เชิงอนุรักษ์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเดิมของตนมากนัก โดยหวังว่าปัญหาต่างๆ กำลังจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นจาก

การสนับสนุน(เครื่องมือ)การสื่อสาร โดยที่เป็นการขยายผลทางการสื่อสารแต่ไม่ได้เป็นการขยายผลทางพฤติกรรม เพราะน่าจะเป็นเรื่อง

ที่ง่ายและดูดีกว่าถ้าผลักภาระให้ผู้อื่นเป็นผู้กระทำ โดยกำหนดบทบาทในฐานะผู้ส่งสารให้กับตนเอง


แต่เนื้อหาหลักของนิทรรศการนี้ไม่ได้หันหลังให้กับกิจกรรมรณรงค์ด้านสิ่งแวดล้อมต่างๆ เนื่องจากการจัดนิทรรศการนี้ก็เป็นรูปแบบหนึ่ง

ของกิจกรรมดังกล่าว แต่ประเด็นสำคัญที่นิทรรศการพยายามสื่อสารคือการเรียกร้องพลังเชิงเดี่ยวของพลเมืองทุกคน 

ซึ่งนับเป็นกำลังสำคัญที่สุดในการรับมือกับปัญหาต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่ ความเชื่อที่ว่าไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใด สามารถแก้ปัญหาของโลกได้

ตามลำพัง ไม่ว่าสิ่งนั้นจะเป็นบุคคล กิจกรรม สินค้า อุปกรณ์ เชื้อเพลิง ต้นไม้ ซึ่งก็รวมไปถึงผลผลิตทางการออกแบบด้วยเช่นกัน 


ความคิดนี้จึงผลักดันให้เกิดแนวคิดหลักของผลงานทุกชิ้นในนิทรรศการนี้ โดยนักออกแบบแต่ละคนจะพยายามนำเสนอผลงานที่ลด/สะท้อน

การให้ความสำคัญหรือการติดยึดกับรูปแบบ ในที่นี้อาจจะเป็นนักออกแบบหรือผลงานออกแบบ ซึ่งเชื่อว่าเมื่อรวมกับพลังทางการตลาด 

จะเกิดกระแสที่บิดเบือนไปจากเจตนารมย์แรกเริ่ม อีกทั้งยังต้องการนำเสนอให้เห็นถึงพลังและความสำคัญเชิงเดี่ยวที่มีประสิทธิภาพมากกว่า

รวมถึงสามารถร่วมมือและรับมือกับกระแสเชิงอนุรักษ์ต่างๆ ที่เข้ามาได้อย่างเท่าทัน 


นิทรรศการแสดงผลงานการออกแบบกราฟิกครั้งนี้นำเสนอผ่าน poster ขนาด 68 ซม. x 98 ซม

โดยนิทรรศการครั้งนี้ได้เชิญ 10 นักออกแบบกราฟิกร่วมสมัยที่มีผลงานโดดเด่นและมีบทบาททางวิชาชีพที่น่าจับตามอง  

และตัวแทนนักศึกษาการออกแบบกราฟิกจาก 10 สถาบันทางการออกแบบต่างๆ  ซึ่งนักออกแบบแต่ละคนจะนำเสนอผลงานการออกแบบ

โปสเตอร์เพื่อสะท้อนความคิดและบทบาทเชิงสาธารณะของนักออกแบบสื่อสารในฐานะสมาชิกของสังคม

โดยมีคิวเรเตอร์ของนิทรรศการ คือ สันติ ลอรัชวี  นักออกแบบสื่อสารแห่ง Practical Studio


ผู้สนับสนุนโครงการ

โครงการนี้ได้รับการสนับสนุนหลักจาก 

บริษัท แอนทาลิส (ประเทศไทย) จำกัด 

ผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์กระดาษแห่งแรกในประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานสากล  

FSC (The Forest Stewardship Council) ซึ่งรับรองการจัดการป่าไม้ที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

ผลิตภัณฑ์กระดาษ Conqueror ผลิตจากเยื่อกระดาษที่ผ่านการรับรองมาตรฐาน FSC

สยาม ดิสคัพเวอรี่

ศูนย์การค้าที่ให้การสนับสนุนกิจกรรมทางการออกแบบและสิ่งแวดล้อมอย่างสม่ำเสมอ 

โดยเฉพาะโครงการ ECO Projects ที่มีกิจกรรมเชิงรณรงค์สิ่งแวดล้อมต่อเนื่องตลอดปี

นิตยสาร a day  นิตยสาร Happening และนิตยสาร Art4D

มีเดีย พาร์ทเนอร์ ของโครงการในการเป็นตัวกลางในการสื่อสารแนวคิด ผลงาน และกิจกรรมของโครงการสู่สาธารณะ

แพรคทิเคิล สตูดิโอ

สตูดิโอออกแบบที่หันมาทำกิจกรรมทางการออกแบบ ประกอบไปกับการทำงานออกแบบกราฟิก ไม่ว่าจะเป็นการแสดงผลงานส่วนตัว

ในรูปแบบนิทรรศการ รวมถึงการทำหน้าที่เป็นทีมออกแบบและประสานงานกิจกรรมให้กับนิทรรศการนี้



ไม่มีความคิดเห็น:

ผู้ติดตาม